วันจักรี
วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นวันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ พสกนิกรชาวไทยร่วมกันประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน และหน่วยงานราชการก็มีพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ ณ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
-
ผลงานของรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า "ด้วง" หรือ "ทองด้วง" เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 มีพระปรีชาสามารถโดยเฉพาะด้านการสงคราม
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง
1.1) ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
1.2) โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระกฎหมายให้ถูกต้องยุติธรรม เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" เพราะประทับตราสำคัญ 3 ดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ของสมุหนายก ตราคชสีห์ของสมุหพระกลาโหม และตราบัวแก้วของกรมท่า
1.3) ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง เช่น คลองบางลำพูทางตะวันออก คลองโอ่งอ่างทางใต้ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนเกาะที่มีแม่น้ำล้อมรอบเหมือกับกรุง ศรีอยุธยา รวมทั้งสร้างกำแพงพระนครและป้อมปราการไว้โดยรอบ ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมปราการไว้โดยรอบ ปัจจุบันคงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
1.4) ทรงเป็นจอมทัพในการทำสงครามกับรัฐเพื่อนบ้าน สงครามครั้งสำคัญ คือ สงครามเก้าทัพกับพม่า
2. ด้านเศรษฐกิจ
2.1) ในตอนต้นรัชกาลที่ 1 เศรษฐกิจยังไม่ดีเพราะมีการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ลดลงมาก แต่ในปลายรัชกาลบ้านเมืองปลอดภัยจากสงคราม ทำให้ประชาชนมีเวลาประกอบอาชีพ ส่วนการค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินใช้จ่ายในการทำนุบำรุงบ้านเมือง สร้างพระนคร สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งสั่งซื้อและสร้างอาวุธเพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต ทำให้บ้านเมืองและราษฎรเกิดความมั่นคงและมั่งคั่ง
3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.1) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังและวัดให้มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ราษฎรให้เสมือนอยู่ในสมัยอยุธยาเมื่อครั้งบ้าน เมืองเจริญรุ่งเรือง เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้ลอกแบบพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นมาใหม่ และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท"
3.2) ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยการออกแบบกฎหมายคณะสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ในพระธรรมวินัย โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏกให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดสุวรรณดาราสุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น
3.3) ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีและประเพณีสำคัญสมัยอยุธยา เช่น จัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสมโภชพระนคร แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของการกอบกู้ราชธานีขึ้นมาใหม่ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับราษฎรและเป็นการรักษาพระราชพิธีโบราณ
3.4) ทรงส่งเสริมงานวรรณกรรม โดยพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง โปรดเกล้า ฯ ให้แปลหนังสือจีนเป็นภาษาไทย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช แปลโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งวรรณคดีเหล่านี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน
- 772จำนวนผู้เข้าชม: